เงินทองไม่รั้วไหล ลงทุนกับกองทุนไหนดี ได้กำไรแบบฟินๆ

30 พ.ค. 2560 16.31 น. | 2,445

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนเป็นประโยคที่คุ้นหูมาแต่ไหนแต่ไร  ก็เพราะว่าการลุงทุนนี้ล่ะที่ทำให้หลายรายเจ๋งกันไม่เป็นท่า บางรายถึงกับหมดเนื้อหมดตัวกันเลยทีเดียว  ทว่าทางกลับกันหากเราศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ดี ก็สามารถลดความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน ทำให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับมา  เสมือนเงินที่งอกเงยคืนนั่นเองค่ะ  คราวนี้ก็เป็นหน้าที่นักลงทุนทุกท่านที่จะต้องทำการบ้านก่อนการลงทุนเพื่อผลกำไรที่งอกเงยกันแล้วล่ะค่ะ ซึ่งคุณเคยคิดไหมว่าเราควรลงทุนกันแบบไหนเพื่อสร้างเงินให้งอกเงยและเห็นผลกำไรที่งอกงาม ตอบโจทย์ความเสี่ยงกับการลงทุนน้อยที่สุด  โดยวันนี้ yimsu.com จึงขอนำทุกท่านมารู้จักกับกองทุนดีๆ ที่ช่วยให้เงินทองไม่รั่วไหล ได้กำไรแบบฟินๆ เพื่อใช้ตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมลงทุนกับกองทุนไหนดี มาฝากกันค่ะ

 

1. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

มีชื่อย่อมาจาก Retirement  Mutual Fund  นับเป็นประเภทของการลงทุนที่น่าสนใจตัวหนึ่งที่สามารถนำมาลดหย่อยภาษีได้  เป็นการลงทุนที่สามารถนำส่วนต่างของราคา (กำไร) เอาไว้ใช้หลังจากเกษียณเพื่อการเลี้ยงชีพยามชรา นับเป็นกองทุนรวมที่สร้างขึ้นมาเพื่อวินัยการออมเงินที่แท้จริง  ซึ่งกองทุนนี้เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการมีเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ

 

เงื่อนไขการลงทุน  ลงทุนขั้นต่ำอย่างน้อย 3% ของรายได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท  สามารถซื้อหน่วยลงทุนเป็นปี  และต้องถือหน่วยลงทุนจนอายุครบ 55 ปี ซึ่งต้องลงทุนมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี  ถึงแม้ว่าอายุจะเกิน 55 ปีก็ตาม  และสามารถซื้อหน่วยลงทุนสูงสุด 15% ของเงินที่ได้ในแต่ละปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท ของเงินสะสมเข้ากองทุนเลี้ยงชีพค่ะ  ทีสำคัญกองทุนนี้สามารถนำมาลดหย่อยภาษีได้อีกด้วยนะคะ

 

2. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว  (LTF)

มีชื่อย่อมาจาก Long-Term Equity  Fund   เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนในหุ้น  เนื่องจากกองทุนได้คัดเลือกหุ้นดีจากผลประกอบการมาไว้ให้นักลงทุนได้เลือกลงทุน  ซึ่งจุดประสงค์หลักของกองทุนนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ตลาดหุ้นไทยมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญสามารถนำมาลดหย่อยภาษีได้อีกด้วยค่ะ

 

เงื่อนไขการลงทุน  เป็นหุ้นที่ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีแต่ต้องถือหุ้นอย่างน้อย 7 ปี    และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากส่วนต่างของราคา (กำไร)  จากการขายหน่วยลงทุน  โดยยอดซื้อ LTF ที่ซื้อในปีนั้นๆ สามารถนํามาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง  สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้นๆ แต่ต้องไม่ เกิน 500,000 บาทต่อปี

 

3. กองทุนหุ้นปันผล

เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีผลตอบแทน (กำไร) กลับมาในระหว่างการลงทุน ส่วนวิธีการซื้อหน่วยลงทุน เช่น สมมติว่าเรามีเงินลงทุน 100 บาท ราคาของกองทุน หน่วยละ 10 บาท ถ้าเราซื้อกองทุนเราจะได้หน่วยลงทุนทั้งหมด 10 หน่วย และถ้ากองทุนปันผลหน่วยละ 1 บาท เราก็จะได้เงินปันผลหรือผลตอบแทน (กำไร) = 10 บาท นั้นเองค่ะ

 

4. กองทุนแบบ  Passive Fund

เป็นกองทุนที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง  เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะยาว เนื่องจากเน้นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แต่การลงทุนแบบนี้จะไม่สามารถทำกำไรได้มากกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์  สำหรับข้อดีของการลงทุนของกองทุนแบบ Passive Fund คือ ค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขาย ถูกมาก เพราะผู้จัดการกองทุนไม่ต้องมาเสียเวลาในการดูแลกองทุน  เพียงแค่ผู้จัดการกองทุนลงทุนด้วยสัดส่วนแบบเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์นั้นเอง  เช่น

 

4.1 กองทุนเปิด K-SET50   

เป็นกองทุนที่น่าสนใจอีกกองทุนหนึ่งเนื่องจากเป็นกองทุนที่ลงทุนโดยใช้กลยุทธ์บริหารเชิงรับ โดยส่วนใหญ่จะลงทุนในหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี SET50  เป็นจำนวนเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน  อีกทั้งเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีรวมอีกด้วยค่ะ

 

4.2 กองทุน SCBSET50

นับเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่น่าสนใจอีกหนึ่งตัว  ซึ่งเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว  เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเป็นกองทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของดัชนี SET50 มากที่สุด

 

5. กองทุน  MMF 

มีชื่อย่อมาจาก Money Market Fund เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน  ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้, พันธบัตรต่างๆ,  ตั๋วเงินในคลัง,  พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ  ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี,  บัตรเงินฝากธนาคาร  หรือบัตรเงินฝากตามสถาบันต่างๆ  รวมทั้งตั๋วสัญญาที่ครบการชำระเงินไม่เกิน 1 ปี  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น  ดั้งนั้น  กองทุนนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพักเงินชั่วคราว รอเงินไปลงทุนเพื่อทำธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต  ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนเปิด ผู้ที่ลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลุงทุนได้ทุกวันในเวลาราชการ  นับเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงน้อย  และได้ผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค่ะ

 

6. กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น 

มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Short-Term Fixed-Income Fund เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ  ซึ่งจะเป็นการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะสั้น และต้องมีอายุเฉลี่ยในการถือครอง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งไม่เกิน 1 ปี 

 

7. กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว

มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Long-Term Fixed-Income Fund เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง  ซึ่งจะเป็นการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ สามารถลงทุนในระยะยาวได้ และต้องมีอายุเฉลี่ยในการถือครอง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเกิน 1 ปี  (ส่วนนี้อย่าสับสนนะคะ!! เพราะระยะเวลาการถือครองจะตรงกันข้ามกับข้อที่ 6 ค่ะ)

 

8. กองทุนรวมผสม

มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Balanced Fund เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง ซึ่งเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินได้ทุกประเภท อาทิ ตราสารทุน  ตราสารหนี้ หรือตราสารอื่นๆ โดยสัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและนโยบายการลงทุนในตราสารแต่ละประเภท

 

9. กองทุนคุ้มครองเงินต้น

มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Principle or Capital Protection Fund เป็นการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ  เพื่อคุ้มครองเงินต้นของผู้ถือหน่วยลงทุน  โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าเงินลงทุนที่ซื้อไป ซึ่งส่วนนี้เท่ากับว่าคุณได้รับส่วนต่างของราคา (กำไร) นั่นเองค่ะ  ซึ่งกองทุนคุ้มครองเงินต้นจะมีนโยบายการบริหารการลงทุน 2 แบบ คือ

  1. แบบ Passive

เป็นการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่มีความเสียงต่ำ  โดยถือครองได้สูงถึง 90% สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือจะนำไปลงทุนในตราสารทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่า หากการลงทุนในตราสารทุนเกิดกรณีขาดทุน กองทุนก็ยังคุ้มครองเงินต้นให้ได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเพื่อนำมาชดเชยในส่วนของเงินต้นที่ขาดทุนไปนั่นเองค่ะ

  1. *แบบ Active

จะมุ่งลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้น และลดการถือครองพันธบัตรหรือตราสารหนี้ลง หรืออาจไม่ถือครองเลยก็ได้เมื่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้น โดยต้องไม่ให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่ำกว่ามูลค่า ณ เริ่มต้น และในทางกลับกันจะมุ่งลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้เพิ่มขึ้นและลดการถือครองตราสารทุนลงหรืออาจไม่ถือครองเลยก็ได้เมื่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ลดลง โดยไม่ให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่ำกว่ามูลค่า ณ เริ่มต้นเช่นกัน  (*แบบ Active : อ้างอิงข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558)

 

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  กับ 9 กองทุนทั้งหมดที่เราได้กล่าวมา หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านได้ไม่น้อยทีเดียวนะคะ  แต่ก่อนการตัดสินใจลงทุนก็อย่าลืมวิเคราะห์ความพร้อมด้านการเงิน รายละเอียดกองทุน และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากกองทุนแต่ละประเภทกันนะคะ  ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงหลังจากการลงทุนนั้นเองค่ะ