สำหรับผู้ที่สนใจด้านการลงทุนและกำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ แน่นอนว่าคุณจะได้พบเห็นคำว่า NAV อ่านว่า เอ็น เอ วี NAV ย่อมาจาก Net Asset Value หรือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิซึ่งเป็นจุดที่เราต้องพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในกองทุนใด ๆ ทุกครั้ง
NAV ได้มาจากไหน?
NAV หรือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิได้มาจากมูลค่าของสินทรัพย์ตามราคาตลาด บวกกับผลตอบแทนสะสมและเงินสด หักค่าใช้จ่ายและหนี้สิน และ NAV ต่อหน่วยสามารถหาได้โดยนำจำนวนหน่วยลงทุนมาหารมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ซึ่ง NAV ต่อหน่วยนี้จะถูกนำไปคำนวณเป็นราคาซื้อและราคาขายซึ่งจะประกาศเมื่อสิ้นสุดวันสำหรับกองทุนเปิด และประกาศสัปดาห์ละครั้งสำหรับกองทุนปิดหรือตามนโยบายของกองทุนนั้น ๆ
ภาพจาก Freepik.com
ณ ขณะเวลาที่ซื้อไม่มีใครรู้ NAV ที่แท้จริงได้?
เมื่อคุณเข้าไปติดต่อกับบริษัทจัดการกองทุนหลักทรัพย์ที่สนใจและสอบถามรายละเอียด เจ้าหน้าที่จะนำเสนอนโยบายและราคา NAV ให้คุณดูแต่ NAV นี้เป็น NAV ของวันหรือสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ฉะนั้นหากคุณตัดสินใจลงทุนในขณะนั้นคุณก็จะไม่ได้ซื้อที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิหรือ NAV นั้นแต่จะเป็นมูลค่า NAV ต่อหน่วยในช่วงเวลาที่คุณทำรายการนั่นเอง
ภาพจาก Freepik.com
NAV ต่ำแปลว่าหน่วยลงทุนนี้ถูก น่าลงทุนใช่ไหม?
หลายคนเข้าใจว่าเมื่อเราซื้อหน่วยลงทุนที่มีมูลค่า NAV ต่ำซึ่งทำให้ได้หน่วยลงทุนมากกว่ากองทุนที่มีมูลค่า NAV ที่สูงกว่าที่นำมาเปรียบเทียบกัน เมื่อลงทุนในจำนวนเงินที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น หากกองทุน A เปิดกองทุนและขายหน่วยลงทุนที่ 10 บาทดำเนินงานมา 6 มี NAV ต่อหน่วยลงทุนที่ 20 บาทและ กองทุน B เปิดกองทุนและขายหน่วยลงทุนที่ 10 บาทเช่นกันดำเนินงานมา 1 ปี มี NAV ต่อหน่วยลงทุนที่ 10 บาท อาจตีความได้ว่ากองทุน A มีผลการดำเนินงานที่ดีทำให้ค่า NAV สูงขึ้นและผลการดำเนินงานของกองทุน B ไม่ก้าวหน้าก็เป็นไปได้ ดังนั้นปัจจัยที่นำมาพิจารณาก่อนที่จะเลือกลงทุนในกองทุนรวมควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ NAV ด้วยดังนี้
- การซื้อขายทรัพย์สินของกองทุน การซื้อขายทรัพย์สินของกองทุนส่งผลโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงราคา NAV
- คุณภาพของทรัพย์สิทของกองทุน หากกองทุนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพและมีผลตอบแทนที่ดี ก็จะส่งผลให้ NAV มีมูลค่าสูงขึ้นด้วยในทางกลับกันหากสินทรัพย์ที่ลงทุนให้ผลขาดทุนราคา NAV ก็จะลดลง
ภาพจาก Freepik.com
- การประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ การประเมินมูลค่าของสินทรัพย์นั้นบางครั้งอาจไม่ใช่ราคาที่แท้จริงของสินทรัพย์แต่เป็นราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์อ้างอิงซึ่งส่งผลกระทบกับ NAV เข่นกัน
- ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุน เป็นอีกหนึ่งตัวแปรในการหามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ หากค่าใช้จ่ายน้อยก็จะส่งผลให้ NAV มีมูลค่าสูงและหากค่าใช้จ่ายเยอะก็จะส่งผลทำให้ NAV มีมูลค่าน้อยลง
- การจ่ายเงินปันผล การจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนมูลค่าของ NAV จะลดลงหลังจากจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ที่ลงทุนด้วย
ดังนั้นก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนที่สนใจจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนอย่าผลีผลามตัดสินใจลงทุนเพราะเห็นราคา NAV ต่ำนะ